วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นึกถึงกระดูก นึกถึง "กระดูกพรุน" ตอนที่ 1

ว่าด้วยเรื่อง  "กระดูกพรุน"

ผมเป็นคนประเภทที่ชอบสนใจในสถิติจุก ๆ  จิก ๆ  บางตัว  อย่างเช่น  เมื่อไม่นานมานี้  ผมอ่านพบว่าทุก ๆ  สามนาที  ในอังกฤษจะมีคนกระดูกหักจาภาวะกรุดูกพรุน  1  คน  นั่นเพราะเมื่อคนเราแก่ตัวลงภาวะกระดูกกร่อนหรือบางลงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้  แต่หากกระดูกบางเกินไป  เราเรียกว่า  "กระดูกพรุน"  ซึ่งหากิกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นมา  กระดูกก็จะแตกหรือหักง่าย  โดยเฉลี่ย  คุณ ๆ  ผู้หญิงจะกรุดูกบางลงเร็วกว่าคุณผู้ชายประมาณ  3  เท่า  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว  กรุดูกจะยิ่งบางลง
เร็วขึ้นไปอีก  เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งมีหน้าที่ปกป้องกระดูกลดต่ำลง  และเมื่ออายุราว  70  ปี  ผู้หญิงจะสูญเสียกระดูกไปราว ๆ  1  ใน  3  ของมวลรวม  และถึงแม้ภาวะกระดูกพรุนจะเกิดได้กับคนทุกวัย  แต่สำหรับผู้ที่อายุยังไม่ถึง  65  ปี  คุณผู้หญิง  1  ใน  4  คนและคุณผู้ชาย  1  ใน  20  คน  อาจกระดูกแตกหรือหักได้จากปัญหากระดูกกร่อน

ภาวะกระดูกพรุนเป็นความเสี่ยงที่เกิดได้กับคนเราทุกคน  แต่สำหรับคนอีก  2-3  กลุ่มจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพื่อน  กลุ่มหนึ่งได้แก่ สตรีหลังวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้กรับการรักษาด้วยการกินฮอร์โมนเสริมหรือวิธีเอชอาร์ที  (HRT : hormone replacement therpapy)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณ ๆ  ที่เข้าสู่วัยทองค่อนข้างเร็วหรือตัดมดลูกไปก่อนถึงวัยหมดประจำเดือน  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือ ผู้ที่ขาดอาหาร  หรืออดอาหารเพื่อลดความอ้วนเป็นเวลานานต่อนื่องกัน  หรือหักโหมออกกำลังกายมากเกินไป  หรือได้รับสเตียรอยด์ในขนาดสูง ๆ  นานหลาย ๆ  ปี  นอกจากกลุ่มที่ก่าวมาแล้ว  ผู้ที่สูบบุหรี  ดื่อมเหล้าหนัก ๆ  สตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติไม่ว่าเหตุผลใด ๆ  รวมทั้งผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างร้อนรนเร่งรีบอยู่ตลอดเวลาโดยไม่ยอมออกกำลังกาย  ก็มีความเสี่ยงด้วย

แต่ปัญหาข้อหนึ่งนั้นมีอยู่ว่า  ปกติแล้วแม้จะมีอาการบางอย่างบ่งชี้อยู่บ้างว่าใครกระดูกพรุนหรือกระดูกบาง  แต่อาการเหล่านั้นมักไม่ค่อยปรากฏให้เห็นก่อนที่กระดูกจะแตกหรือหัก  ธรรมดาแล้วเมื่อกระดูกหัก  ผู้ป่วยจึงจะรู้ว่าแค่หกล้มเบา ๆ  หรือกระทบกระทั่งอะไรไม่มากกระดูกก็จหักเอาได้ง่าย ๆ  บางรายร้ายแรงด้วย  อย่างเช่น  ผู้ป่วยกระดูกสะโพกแตกจำนวนเกินครึ่งของผู้ป่วยทั้งหมด  ไม่สามารถอยู่ต่อไปได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นเลย  และผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหลัง  เพราะกระดูกสันหลังแตก  หรือความสูงของผู้ป่วยจะลดลงเรื่อย ๆ  และหลังค่อมลงหรือที่เรียว่าลักษณะ  "แม่หม้ายหลังโกง"  (dowager's  hump)  นั่นเอง

สินค้าสุขภาพที่เกี่ยวข้อง  อาหารเสริม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น