วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นึกถึงกระดูก นึกถึง "กระดูกพรุน" ตอนที่ 2

มาจัดการกับโรคกระดูกพรุนกันเถอะ!!

เรื่องกระดูกพรุนนี้  เป็นเรื่องที่กันไว้ดีกว่าแก้จริง ๆ  ก็ว่าได้  เหตุผลง่าย ๆ  คือ  กระดูกนั้นเมื่อพรุนเสียแล้วก็ไม่มีวิธีรักษา  เมื่อกระดูกเรากร่อนพรุนไปแล้วก็ไม่มีการเสริมสร้างขึ้นมาแทนที่ได้  แต่ก็ยังมีวิธีสำคัญที่จะช่วยเสริมกระดูกที่ยังเหลืออยู่ไม่ให้กร่อนง่าย  ได้แก่การออกกำลังกาย  ซึ่งแม้จะเป็นวิธีง่าย ๆ  อย่างการเดินก็จะช่วยได้ครับ  นั่นเพราะการที่กระดูกถูกกล้ามเนื้อและเอ็นดึงไปดึงมาอยู่เป็นประจำนั้น  จะช่วยไปกระตุ้นเซลล์ชนิดที่ช่วยสร้างกระดูก  ทำให้กระดูกแกร่งขึ้น

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นึกถึงกระดูก นึกถึง "กระดูกพรุน" ตอนที่ 1

ว่าด้วยเรื่อง  "กระดูกพรุน"

ผมเป็นคนประเภทที่ชอบสนใจในสถิติจุก ๆ  จิก ๆ  บางตัว  อย่างเช่น  เมื่อไม่นานมานี้  ผมอ่านพบว่าทุก ๆ  สามนาที  ในอังกฤษจะมีคนกระดูกหักจาภาวะกรุดูกพรุน  1  คน  นั่นเพราะเมื่อคนเราแก่ตัวลงภาวะกระดูกกร่อนหรือบางลงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้  แต่หากกระดูกบางเกินไป  เราเรียกว่า  "กระดูกพรุน"  ซึ่งหากิกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นมา  กระดูกก็จะแตกหรือหักง่าย  โดยเฉลี่ย  คุณ ๆ  ผู้หญิงจะกรุดูกบางลงเร็วกว่าคุณผู้ชายประมาณ  3  เท่า  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว  กรุดูกจะยิ่งบางลง

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การตรวจความดันโลหิต ตอนที่ 2

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนมากที่ไม่ได้มีความเจ็บป่วยอื่นแทรกซ้อนอยู่นั้น  อย่างแรกที่ควรทำคือ  ปรับตัวและเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิตเสียบ้าง  โดยมากมักไม่พ้นต้องเลิกบุหรี่  หรือถ้าอ้วนเกินไปก็ควรลดน้ำหนักและออกกำลังกายให้มากขึ้น  วิธีหนึ่งที่ช่วยลดความดันโลหิตลงได้  แต่มักจะลืมกันคือ  การกินอาหารเค็ม ๆ  ให้น้อยลง  ในแต่ละวันควรกินผักสดและผลไม้สดให้ได้ถึง  5  ส่วน  (portion)  และหากจะดื่มแอลกอฮอล์ก็อย่าให้เกินปริมาณที่หมอแนะนำ  ส่วนข้อสุดท้ายที่มักจะปฏิบัติได้ยากกว่าเรื่ออื่น ๆ  ก็คือ  การหัดทำอะไร ๆ  ให้ช้าลงและรู้จักผ่อนคลายความเครียดให้ตัวเองบ้าง